วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นโยบายต่างประเทศของประเทศออสเตรเลีย

นโยบายต่างประเทศของประเทศออสเตรเลีย










       




        


        ออสเตรเลียส่งเสริมการมีบทบาทสำคัญในกรอบอาเซียน โดยออสเตรเลียกำลังจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เข้าร่วมการประชุม East Asia Summit (EAS) นอกจากนั้น ออสเตรเลียยังมีบทบาทที่แข็งขันในการรักษาสันติภาพในติมอร์เลสเต โดยได้ส่งกองกำลังร่วมกับไทยเพื่อรักษาสันติภาพในช่วงปี 2542-2545 และล่าสุดออสเตรเลียได้ส่งกองกำลังไปรักษาความสงบอีกรอบในช่วงปี2549 ถึงปัจจุบัน
        ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ และเหตุระเบิดที่เกาะบาหลี รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศใช้สมุดปกขาวด้านนโยบายต่างประเทศและการค้าฉบับใหม่ ภายใต้ชื่อ Advancing the National Interest ในเดือนกุมภาพันธ์2546 โดยวางกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านการเมืองความมั่นคงและเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน มุ่งเน้นการคุ้มครองคนชาติและผลประโยชน์ของออสเตรเลียจากภัยก่อการร้ายระหว่างประเทศ การต่อสู้กับปัญหาการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติดและปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญพิเศษต่อความร่วมมือในการป้องกันภัยดังกล่าวกับประเทศและภูมิภาคที่อยู่ใกล้ออสเตรเลียที่สุด (immediate region) มุ่งเน้นความรับผิดชอบร่วมกันภายใต้กรอบสหประชาชาติ รวมทั้งการส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งขจัดอุปสรรคทางการค้าพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกและเอเปค และการส่งเสริมการจัดทำความตกลงการค้าเสรี
         ออสเตรเลียเห็นว่าความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ มีความสำคัญทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจ และให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้นในทุกมิติของความสัมพันธ์ พร้อมกับมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในแปซิฟิกใต้เพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพอันเป็นผลประโยชน์ของออสเตรเลีย
ส่วนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น มหาอำนาจออสเตรเลียได้ให้ความสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่นและจีนโดยอมีนาคม2550 และศุลกากร พร้อมทั้ง การฝึกร่วมทางการทหาร
         ในปัจจุบัน ประเด็นด้านนโยบายต่างประเทศที่ออสเตรเลียให้ความสำคัญมาก คือ การต่อต้านการก่อการร้าย ปัญหาในอิรัก และอัฟกานิสถาน การแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจในการทำลายล้างสูง (non-proliferation) การปฏิรูปสหประชาชาติ และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ เช่น พม่า ซิมบับเว และการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก (Avian Influenza Pandemic)

 นโยบายด้านการต่างประเทศปัจจุบัน (นายกรัฐมนตรีกิลลาร์ด)
          - นโยบายด้านต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีกิลลาร์ดจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนักจากช่วงที่ผ่านมาภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรีรัดด์ การที่นายรัดด์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีกิลลาร์ด สะท้อนความจริงที่ว่า นายรัดด์ยังคงมีอำนาจต่อรองอยู่มากภายในพรรคแรงงาน นโยบายภาพรวมยังเน้นความเป็นพันธมิตรหลักกับสหรัฐฯ และกับพันธมิตรตะวันตก เร่งเพิ่มพูนปฏิสัมพันธ์กับเอเชีย โดยเฉพาะจีน อาเซียนและอินเดีย เนื่องจากออสเตรเลียพึ่งพาตลาดจีนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในระยะที่ผ่านมา การค้าขายกับจีนมีส่วนสำคัญ ในการพยุงให้เศรษฐกิจของออสเตรเลียรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ทำให้ออสเตรเลียต้อง ปรับทิศทางการปฏิสัมพันธ์ในภาพอื่นๆ กับจีนให้ใกล้ชิดมากขึ้นด้วยโดยลำดับ และต้องพยายามหาดุลยภาพระหว่างการเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา (ในเอเชีย) กับการดำรงผลประโยชน์แห่งชาติของออสเตรเลียในการปฏิสัมพันธ์กับจีน ตลาดประเทศคู่ค้าของออสเตรเลียที่สำคัญ ได้แก่ อาเซียน-ร้อยละ 16 ญี่ปุ่น-ร้อยละ 13 จีน-ร้อยละ 12 และสหรัฐอเมริกา- ร้อยละ 11 อาเซียนนับเป็นคู่ค้า (ระดับภูมิภาค) ที่มีมูลค่าการค้ากับออสเตรเลียสูงที่สุดในปัจจุบัน
          - การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย และผู้ลักลอบเข้าเมืองทางทะเลเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนต่อการเมือง ภายในของออสเตรเลีย และท่าทีของออสเตรเลียภายใต้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีกิลลาร์ด อาจจะทำให้ประเทศต่างๆ ที่มีประชากรต้องการอพยพเข้าไปในออสเตรเลียต้องผิดหวัง เนื่องจากมาตรการที่จะกรองคนเข้าเมืองจะเข้มข้นขึ้น และมีความมุ่งมั่นที่จะลงโทษผู้กระทำผิดคดีลักลอบขนคนเข้าเมืองขั้นเด็ดขาด ในปี 2553 รัฐบาลออสเตรเลียจะผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง Regional Processing Center หรือ ศูนย์แรกรับผู้อพยพ ในประเทศติมอร์-เลสเต ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลติมอร์-เลสเต และประเทศ ที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น